องค์ความรู้เรื่อง "หมู่บ้านปศุสัตว์ - เกษตรมูโนะ"

รายละเอียดองค์ความรู้

องค์ความรู้เรื่อง "หมู่บ้านปศุสัตว์ - เกษตรมูโนะ"

        พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๒๖ สรุปความว่า ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการพัฒนาพื้นที่ ตามที่กรมชลประทานได้ขุดคลองมูโนะ แล้วเสร็จเมื่อปี ๒๕๒๐ ทำให้พื้นที่ประมาณ ๗,๐๐๐ ไร่ บริเวณฝั่งขวาของคลอง ช่วงระหว่างคลองกับทางหลวงสายตากใบ – สุไหงโกลก ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่พรุมีน้ำท่วมขังตลอดปี เมื่อน้ำแห้งลง มีราษฎรจากหมู่บ้านต่างๆ อพยพเข้าไปใช้พื้นที่นั้นทำประโยชน์ด้านการเลี้ยงสัตว์

     

คลองมูโนะ

 

     

หมู่บ้านปศุสัตว์ - เกษตรมูโนะ

 

        หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีกรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานหลักได้จัดตั้งหมู่บ้านปศุสัตว์ – เกษตรมูโนะ ในบริเวณพื้นที่ประมาณ ๒,๔๐๐ ไร่ ตำบลโฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยจัดสรรที่ดิน ให้แก่สมาชิกโครงการ ครอบครัวละ ๑๕ ไร่ เป็นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตร ๓ ไร่ อีก ๑๒ ไร่ เป็นพื้นที่ส่วนรวมเพื่อใช้เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ พร้อมทั้งจัดหาแหล่งน้ำให้เพาะปลูกได้ตลอดปี ซึ่งสมาชิกจะมีรายได้จากการเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก ส่วนการเกษตรเป็นรายได้เสริม โดยไม่มีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดิน แต่มีสิทธิ์ทำกินตลอดไป ตามกฎระเบียบของหมู่บ้านที่ร่วมกันกำหนดขึ้น

 

     

แปลงพืชอาหารสัตว์

 

     

     

โคเนื้อ, แพะ,แกะ

 

     

แปลงเกษตร

 

       ผลการดำเนินงาน มีการศึกษาการปรับตัวของพืชอาหารสัตว์ และการจัดการในสภาพพื้นที่ลุ่มดินเปรี้ยวจัด (ชุดดินมูโนะ) ปรับปรุงทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ในสภาพพื้นที่ดินพรุให้เป็นแปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์แบบประณีต มีคุณภาพอย่างยั่งยืน อบรมเกษตรกรให้พัฒนาการจัดการแปลงพืชอาหารสัตว์ให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และค่าใช้จ่ายต่ำ ส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์เพื่อลดปัญหาขาดแคลนอาหารสัตว์ สนับสนุนให้ใช้ประโยชน์จากแปลงพืชอาหารสัตว์ในการผลิตหญ้าสดหรือหญ้าหมัก จำหน่ายสร้างรายได้เพิ่มขึ้น บำรุงรักษาแปลงหญ้าเดิม พื้นที่ประมาณ ๑๐๐ ไร่ เกษตรกรสามารถผลิตหญ้าสดใช้เลี้ยงสัตว์ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ – ๑๕๐,๐๐๐ กิโลกรัม / ปี มีสัตว์เลี้ยง ได้แก่ โคเนื้อ ๒๕๐ – ๓๐๐ ตัว แพะ – แกะ ๑๐๐ ตัว สมาชิกโครงการ ๑๔๓ ราย

 
 
 

  กลุ่มนโยบายพิเศษ 
                    ๒๕  กันยายน  ๒๕๖๓
 
 

curve