องค์ความรู้เรื่อง "โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำยางชุุม"

รายละเอียดองค์ความรู้

 

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำยางชุม

       พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริกับ พลโท ประวิตร วงษ์สุวรรณ แม่ทัพภาคที่ ๑ (ขณะนั้น) พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๖ และ ๖ ตุลาคม ๒๕๔๖ สรุปความว่า ให้พิจารณาเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำยางชุม อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ และก่อสร้างฝายต้นน้ำเหนืออ่างฯ ชะลอน้ำไม่ให้เกิดน้ำท่วม เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ป่ากุยบุรี เป็นแหล่งน้ำให้ช้าง ตลอดจนทำระบบกระจายน้ำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพาะปลูก โดยให้ดำเนินการในเวลา ๒ ปี และร่วมกันแก้ไขปัญหาผลกระทบของโครงการ ช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจากการก่อสร้าง

          กรมชลประทาน ได้ดำเนินการปรับปรุงเขื่อนดิน (อ่างเก็บน้ำยางชุมเดิม) โดยเพิ่มความสูงของตัวเขื่อนอีก ๓ เมตร เป็นความสูง ๒๖ เมตร ความกว้างสันเขื่อน ๙ เมตร ความยาวสันเขื่อน ๑,๕๔๐ เมตร สามารถเพิ่มระดับการเก็บกักน้ำขึ้นอีก ๒ เมตร ทำให้ความจุเพิ่มขึ้นเป็น ๔๑.๑ ล้านลูกบาศก์เมตร หรือความจุเพิ่มขึ้น ๙.๑ ล้านลูกบาศก์เมตร ปรับปรุงอาคารท่อระบายน้ำปากคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้ายก่อสร้างอาคารท่อระบายน้ำลงลำน้ำเดิม และปรับปรุงถนนทดแทนถนนเดิมที่ถูกน้ำท่วม ใช้เวลาก่อสร้าง ๒ ปี (ปี ๒๕๔๗ - ๒๕๔๘)

 

ระหว่างปรับปรุง

 

                  

 

ปรับปรุงแล้วเสร็จ


          ผลการดำเนินงานสามารถเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำ จากเดิม ๓๒ ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น ๔๑.๑ ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่าโดยรอบ ทำให้ช้างป่าและสัตว์ป่ามีแหล่งน้ำกิน ตลอดจนเพิ่มพื้นที่ส่งน้ำเพื่อการเกษตร อีกประมาณ ๕,๐๐๐ ไร่ (จากเดิม ๑๕,๓๐๐ ไร่ เพิ่มเป็น ๒๐,๓๐๐ ไร่) รวมทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัยบริเวณลุ่มน้ำกุยบุรีอีกด้วย

 

คลองส่งน้ำ

                       

                  

 

                     

พื้นที่รับประโยชน์

บริเวณป่ากุยบุรี

 

พืชไร่

 

ไม้ผล

               

          มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ ๕๔ กลุ่ม ๖๐๐ ครัวเรือน ซึ่งได้วางแผนการปลูกพืชตลอดปี มีแผนการจำหน่ายผลผลิตที่มีตลาดรองรับชัดเจน และพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใต้คำขวัญ “แลช้าง ชมน้ำ เที่ยวสวนกุยบุรี” มีการเปลี่ยนแปลงการเพาะปลูกพืช จากพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง กล้วย อ้อย มาเป็นไม้ผลมากขึ้น ได้แก่ ลำไย ชมพู่ ฝรั่ง ทุเรียน และสามารถปลูกพืชตามความต้องการของตลาดได้มากขึ้น เช่น เผือก หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดหวาน เป็นต้น ทำให้ราษฎรมีอาชีพรายได้ดีขึ้นไม่ต้องทิ้งถิ่นฐานไปทำงานในเมืองหรือต่างจังหวัดเหมือนแต่ก่อน  

 

กิจกรรมกลุ่มผู้ใช้น้ำ

 

          พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ   มาทอดพระเนตรอ่างเก็บน้ำยางชุม เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ และมีพระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา เกี่ยวกับอ่างเก็บน้ำยางชุม ตอนหนึ่งความว่า

          “...ขยายเขื่อนที่กุยบุรียางชุม ...เก็บน้ำได้ ๙ ล้านลูกบาศก์เมตร มีโครงการพระราชดำริ ก็เลยทำทันที แทนที่จะใช้เวลา ๓ ปี ก็เหลือ ๒ ปี ทำงานได้ ...ทำให้น้ำลงมาเก็บและล้นได้ เพราะน้ำนี้ได้ใช้ ...ข้างล่างก็เห็นทำนาได้ ...ถ้าเราทำโครงการที่ใช้งานได้เร็ว ประหยัด การท่วมของพื้นดิน และประหยัดทรัพย์ ความจริงที่ใช้เงินตอนนั้น ใช้เงินร้อยล้านกว่าๆ เดี๋ยวนี้กลับคืนมาแล้ว ถ้าไม่ได้ทำน้ำที่ท่วมก็ทำลายหลายร้อยล้าน ...แต่ทีนี้ ๑๐๐ ล้านใช้ไป ใช้ดีแล้ว ใช้ถูกต้อง

 

 

         


กลุ่มนโยบายพิเศษ
                                       ๒๘  กุมภาพันธ์  ๒๕๖๓

curve