องค์ความรู้เรื่อง "โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่ากุยบุรี"

รายละเอียดองค์ความรู้

โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่ากุยบุรี

สภาพป่ากุยบุรี


ข่าวช้างป่ากุยบุรีเสียชีวิต

          เมื่อปี ๒๕๔๐ ปรากฏข่าวทางสื่อมวลชนเกี่ยวกับช้างป่าบริเวณป่าสงวนแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เสียชีวิตจำนวน ๒ ตัว จากการกินสับปะรดที่มีสารพิษ และอีก ๑ ตัว ถูกยิงเสียชีวิตเนื่องจากเข้ามากินสับปะรดที่ราษฎรปลูกไว้

     แผนที่ขอบเขตโครงการ

ช้างป่าออกมาหาอาหาร

 

 

 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๔๐ สรุปความว่า ให้ดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าบริเวณป่าสงวนแห่งชาติกุยบุรี โดยใช้รูปแบบการฟื้นฟูเช่นเดียวกับโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ จังหวัดเพชรบุรี และโครงการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม จังหวัดราชบุรี และมีพระราชดำริเพิ่มเติมอีกหลายครั้ง ได้แก่

       เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๔๑ สรุปดังนี้

       - ให้ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ปล่อยให้ขึ้นเองตามธรรมชาติ

       - ให้ปลูกสับปะรดที่คุณภาพไม่ต้องดีนักสำหรับเป็นอาหารช้าง โดยให้ชาวบ้านมาช่วยดูแลพืชอาหารช้างพร้อมทั้งให้ค่าตอบแทน

       - ให้สำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมและทำฝายชะลอน้ำ (check dam)

       - ให้พัฒนาที่ดินโดยใช้หญ้าแฝก

      - พิจารณาหาแหล่งน้ำซึ่งจะใช้มาเติม chack dam ควรมีการสร้างฝายหรือเขื่อนกักเก็บน้ำในแม่น้ำกุยบุรี หรือขุดลอกเพื่อให้มีน้ำใช้ได้ตลอดปี เพื่อประโยชน์ในการเกษตรและการใช้สอยของราษฎร

       เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๔๑ สรุปดังนี้

       - ควรมีการปลูกพืชเสริมเพื่อเป็นอาหารของสัตว์ป่า เช่น อ้อย สับปะรด หรือพืชอื่นๆ

       - ควรพิจารณาหาแหล่งน้ำให้แก่พื้นที่โครงการ

        เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๒ สรุปดังนี้

       - ช้างควรอยู่ในป่า เพียงแต่ต้องทำให้ป่านั้นมีอาหารช้างให้เพียงพอ

       - กรณีช้างออกมาที่ชายป่า ต้องให้ความปลอดภัยกับช้างบ้าง

       เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๒ สรุปดังนี้

       - เมื่อช้างมีอาหารก็จะไม่มารบกวนชาวบ้าน และให้นำเมล็ดพันธุ์พืชไปโปรยเพิ่มเติมอีก เพื่อเป็นอาหารของช้างในปีต่อไป

       เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๒ สรุปดังนี้

       - ควรปลูกพืชอาหารช้างให้ลึกเข้าไปในป่ามากๆ และปลูกให้กระจาย การโปรยหว่ายเมล็ดพันธุ์พืชทางอากาศ ให้โปรยหว่านเข้าไปในป่าลึกๆ

       - การจัดทำ check dam ก็ควรทำในป่าลึกๆ

    - การทำ check dam และปลูกพืชให้ช้างไม่ควรใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก ให้ทหารที่มีหน้าที่ลาดตระเวนอยู่แล้ว นำพืชหรือเมล็ดพันธุ์พืชติดตัวไป และปลูกในขณะลาดตระเวนเข้าไปในป่าลึกๆ

 


  กลุ่มนโยบายพิเศษ
                                         ๒๒  มกราคม  ๒๕๖๓

curve