"องค์ความรู้จากโครงการโป่งลึก-บางกลอย"

รายละเอียดองค์ความรู้

องค์ความรู้จาก"โครงการโปงลึก-บางกลอย"

         โครงการโป่งลึก - บางกลอย ในพื้นที่ป่าแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนการธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริ เมื่อปี 2535 กับอธิบดีกรมป่าไม้ (ในขณะนั้น) สรุปความว่า ให้ดูแลรักษาป่าอย่าให้มีการลักลอบตัดไม้ถางป่าทำไร่ในป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำเพชรบุรี ป่าละอูบน ป่าเขาพะเนินทุ่ง ครอบคลุมพื้นที่จรดแนวเขตชายแดน

สภาพบ้านโป่งลึก - บางกลอย

        กรมป่าไม้ (ในขณะนั้น) ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า จัดระเบียบชุมชน ช่วยเหลือพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตราษฎรที่อยู่อาศัยในพื้นที่ป่าโดยมีพื้นที่รองรับที่สำคัญ คือ บ้านโป่งลึก และบ้านบางกลอย ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

        ต่อมาเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๐ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระราชดำริพระราชทานความช่วยเหลือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้าน บ้านบางกลอย และบ้านโป่งลึก ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยจะพระราชทานอาชีพเสริมในด้านศิลปาชีพ และการพัฒนาอาชีพการเกษตร ได้แก่ การหาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภค การพัฒนาคุณภาพดิน การหาพันธุ์พืชที่เหมาะสม ตลอดจนการซ่อมแซมสะพานที่ใช้ในการสัญจรข้ามแม่น้ำเพชรบุรีไปมาหาสู่กันระหว่าง ๒ หมู่บ้าน

        กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน ๓๐๐ แห่ง เพื่อรักษาความชุ่มชื้น ป้องกันไฟป่า และเป็นแหล่งน้ำของสัตว์ป่า, เพาะชำกล้าไม้มีค่า ๕๐,๐๐๐ ต้น แจกจ่ายให้ราษฎรปลูกไว้ใช้สอยในครัวเรือน, ส่งเสริมการปลูกป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง พื้นที่ ๔๐๐ ไร่ ฟื้นฟูธรรมชาติให้เป็นแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ นอกจากนี้ หน่วยงานต่างๆ ได้ดำเนินการ ซ่อมแซมสะพานและโรงเรียน ขุดสระน้ำ จัดทำระบบสูบน้ำ (โดยใช้พลังงานน้ำไหลหมุนกังหันเครื่องสูบน้ำ) พร้อมระบบส่งน้ำ ส่งเสริมการอนุรักษ์ดินและน้ำ ส่งเสริมการปลูกพืช - เลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมกับพื้นที่, ส่งเสริมงานทอผ้าและงานศิลปาชีพด้านอื่นๆ, จัดเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขไปให้บริการในหมู่บ้านเป็นระยะๆ เพื่อตรวจรักษาโรค บริการด้านสุขภาพอนามัย และให้ความรู้ด้านโภชนาการ

ฝายต้นน้ำ

 การปลูกป่า

การทอผ้าศิลปาชีพ

การอนุรักษ์ดินและน้ำ

การปลูกพืช – เลี้ยงสัตว์

ระบบสูบน้ำ
 

สะพานข้ามแม่น้ำแคว

 

        ผลสำเร็จของโครงการ ช่วยให้ราษฎรที่อยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์สามารถอยู่อาศัย และทำกินในพื้นที่รองรับที่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมในการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จำนวนประมาณ ๑๓๖ ครัวเรือน ๙๗๑ คน, บรรเทาปัญหาการบุกรุกทำลายป่าและร่วมกันฟื้นฟูป่า ประมาณ ๔๐๐ ไร่, มีการจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ และลดปัญหาการใช้สารเคมีทำการเกษตรในพื้นที่ต้นน้ำเพชรบุรี

         จากผลการดำเนินงาน มีองค์ความรู้ที่สามารถนำไปขยายผล ดังนี้

         ๑. ยุทธศาสตร์พัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
         ๒. 
ป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง
         ๓. 
การพัฒนาในรูปแบบคนอยู่ร่วมกับป่า
         ๔. 
การสูบน้ำโดยใช้พลังงานทดแทน


กลุ่มนโยบายพิเศษ
                                       ๑๓  พฤศจิกายน  ๒๕๖๒

curve