พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต

รายละเอียดองค์ความรู้

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ แต่ละแห่ง มีลักษณะ “ปัญหา ที่เฉพาะและแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค” ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชวินิจฉัยเกี่ยวกับสภาพปัญหาของแต่ละแห่ง ไว้อย่างชัดเจน จุดเริ่มต้นของการจัดตั้งศูนย์ศึกษาฯ เกิดขึ้น เมื่อวันพุธที่ 8 สิงหาคม 2522 เวลา 15.00 น. พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังบ้านเขาหินซ้อน หมู่ที่ 2 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคราม จังหวัดฉะเชิงเทรา ณ ที่นั้น นายอ้วน ชัยเทศ ราษฎรบ้านเขาหินซ้อน และคณะได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินจำนวน 264 ไร่ เพื่อสร้างพระตำหนัก ซึ่งพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งกับผู้ถวายที่ดินว่า “...ก็เลยถามผู้ที่ให้ที่นั้นนะ ถ้าหากไม่สร้างตำหนัก แต่ว่าสร้างเป็นสถานที่ที่จะศึกษาเกี่ยวกับการเกษตรจะเอาไหม เขาก็บอกว่ายินดี ก็เลยเริ่มทำในที่นั้น...” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมุ่งหวังให้ศูนย์ศึกษา การพัฒนาฯ “เป็นต้นแบบของความสำเร็จ” ให้แก่เกษตรกร และผู้ที่สนใจทั่วไปได้มีความรู้และช่วยเหลือตนเองได้อย่างยั่งยืน ดังนี้ 1. เป็นสถานที่ทำการศึกษาค้นคว้า ทดลอง วิจัย เพื่อแสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนาด้านต่างๆ ให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ทำหน้าที่เสมือน “ต้นแบบ” ของความสำเร็จที่จะเป็นแนวทางและตัวอย่างของ ผลสำเร็จให้แก่พื้นที่อื่นๆ ต่อไป 2. แลกเปลี่ยนสื่อสารระหว่างนักวิชาการ นักปฏิบัติ และประชาชน การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัยต่างๆ ที่ได้รับ ผลสำเร็จแล้ว ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ จะเป็นแหล่งผสมผสาน ทางวิชาการและการปฏิบัติเพื่อนำความรู้สู่ราษฎร รวมทั้งเป็น แหล่งศึกษาทดลองของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและเป็นแหล่ง แลกเปลี่ยน ถ่ายทอดประสบการณ์และแนวทางแก้ไขปัญหา ระหว่าง 3 กลุ่ม คือ นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ซึ่งทำหน้าที่พัฒนา ส่งเสริม และราษฎร 3. การพัฒนาแบบผสมผสาน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ แต่ละแห่งจะเป็นแบบจำลองและตัวอย่างของการพัฒนาในพื้นที่ ลักษณะหนึ่งๆ ซึ่งสามารถใช้เป็นประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ โดย พยายามใช้ความรู้ให้มากสาขาที่สุด แต่ละสาขาจะเป็นประโยชน์ เกื้อหนุนกับการพัฒนาสาขาอื่นๆ เป็นการผสมผสานกันทั้งด้าน ความรู้ การดำ เนินงาน และการบริหารอย่างเป็นระบบ 4. เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เป็นศูนย์รวมของการศึกษา ทดลอง และสาธิตที่ได้รับผลสำเร็จ ทั้งด้านการเกษตร แหล่งน้ำปศุสัตว์ ประมง ตลอดจนการพัฒนา ด้านสังคม ศิลปาชีพ ในลักษณะของ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มี ชีวิต” เพื่อให้ผู้สนใจได้เข้าไปศึกษาดูงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว อันนำไปสู่ประสิทธิภาพในการพัฒนาอย่างสมบูรณ์สูงสุด

curve