"องค์ความรู้จากโครงการหลวง"

รายละเอียดองค์ความรู้

องค์ความรู้จากโครงการหลวง

                    โครงการหลวง เป็นโครงการพัฒนาช่วยเหลือชาวเขา หรือ ชุมชนบนพื้นที่สูงให้มีอาชีพรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพื่อมนุษยธรรม ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และกำจัดการปลูกฝิ่น โดยศึกษาทดลองปลูกพืชเขตหนาวทดแทนการปลูกฝิ่น มีสถานีวิจัยหลัก ๔ แห่ง เมื่อได้ผลสำเร็จแล้วนำไปขยายผลในพื้นที่หมู่บ้านชาวเขา โดยมีศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทำหน้าที่ส่งเสริมขยายผลในพื้นที่ ๓๘ ศูนย์


ร.9 เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรต้นกาแฟ เมื่อปี 2517

                           ผลสำเร็จจากการศึกษาทดลอง ได้แก่

          ๑. ไม้ผลเขตหนาว ได้รับการสนับสนุนจากไต้หวัน และทุนวิจัยจากสหรัฐฯ เช่น พีช สาลี่ พลับ บ๊วย เป็นต้น นอกจากจะสร้างรายได้ที่มั่นคงแล้ว ยังเป็นพืชที่ให้ร่มเงาปกคลุมหน้าดินด้วย

ไม้ผลเขตหนาว

          ๒. ผักเขตหนาว ได้รับทุนสนุบสนุนจากสหรัฐฯ และไต้หวัน จนกระทั่งปี ๒๕๒๔ จึงได้นำผลสำเร็จไปขยายผล ได้แก่ ผักกาดหอมห่อ ผักกาดหางหงส์ และแครอท

ผักเขตหนาว

          ๓. ไม้ดอกและไม้ประดับ ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ระหว่างปี ๒๕๑๙ - ๒๕๒๑ โดยนำไม้ตัดดอกมาทดลองปลูก ๒๓ ชนิด เช่น คาร์เนชั่น แกลดิโอลัส ซิมบิเดียม เป็นต้น แหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นต้น

ไม้ดอกไม้ประดับ

             ๔. งานวิจัยด้านอารักขาพืช ให้ความสำคัญกับวิธีการป้องกันกำจัดศรัตรูพืช เฝ้าระวังติดตามตรวจสอบสารตกค้างในผลผลิตให้มีความสะอาดปลอดภัยสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค

          ๕. งานวิจัยด้านวิชาการหลังการเก็บเกี่ยว พัฒนาห้องเย็นธรรมชาติ สร้างระบบจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและนำระบบการควบคุมอุณหภูมิมาใช้ในการเก็บรักษาและขนส่ง

          ๖. งานวิจัยด้านการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เริมดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๐๗ โดยได้รับสนับสนุนทุน และองค์ความรู้จากองค์การสหประชาชาติ และเปิดโรงงานอาหารหลวงสำเร็จรูป เมื่อปี ๒๕๑๗ ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อมาได้จัดตั้งโรงงานแปรรูป และพัฒนาผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ไร่แม่เหียะ เมื่อปี ๒๕๓๘

โรงงานอาหารหลวง

          ๗. ผลิตภัณฑ์ไม้ประดับแห้ง เริ่มดำเนินการเมื่อปี ๒๕๒๔ พัฒนาจากโครงการเฟิน มีการจัดตั้งโรงงานแปรรูปวัตถุดิบดอกไม้แห้ง ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขนและกำแพงแสน

        ๘. งานวิจัยป่าไม้ เริ่มดำเนินการเมื่อปี ๒๕๒๕ โดยได้รับการสนับสนุนจากไต้หวันผ่านองค์การทหารผ่านศึก เริ่มปลูกป่าครั้งแรกที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และขยายไปสู่สถานีและศูนย์พัฒนาอื่นๆ ต่อไป

การปลูกป่า

          ๙. งานวิจัยหญ้าแฝก คัดเลือกพันธุ์แฝกที่เหมาะสมกับการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่สูง ๒ สายพันธุ์ ส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปปลูกตามแนวระดับพื้นที่ต่างๆ

การปลูกหญ้าแฝก

 

 


กลุ่มนโยบายพิเศษ
                                        ๑๖  ตุลาคม  ๒๕๖๒

curve