องค์ความรู้เรื่อง "โครงการหนองพลับ-กลัดหลวง"

รายละเอียดองค์ความรู้

โครงการหนองพลับ - กลัดหลวง

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ ทอดพระเนตร
พื้นที่โครงการจัดพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์หนองพลับ-กลัดหลวง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2516

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ ทอดพระเนตร
พื้นที่โครงการจัดพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์หนองพลับ-กลัดหลวง เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2518

            พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงศึกษาวิเคราะห์ปัญหาดิน ในเอกสาร “Soil Dev การพัฒนาดิน” ที่พระราชทานแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับโครงการหนองพลับ - กลัดหลวง ต.หนองพลับ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ว่าดินมีปัญหาเป็นดินลูกรัง ดินดาน ต้นเหตุของปัญหามีการทำลายป่าไม้ เมื่อเริ่มพัฒนา มีการ clear (ปอกเปลือก) พื้นที่ โดยตัดไม้ถอนรากให้หมดเตียน และไม่มีการป้องกันมิให้ดินลูกรังที่เหลืออยู่มากถูกชะล้างลงห้วยโดยเร็ว

สภาพพื้นที่เมื่อแรกเริ่มโครงการ


          ต่อจากนั้นสภาพกลายเป็นคล้าย ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย จ.เพชรบุรี ซึ่งเดิมเป็นป่าโปร่ง คนไปตัดไม้สำหรับเป็นฟืน และสำหรับเผาถ่าน มีการปลูกพืชไร่ และสับปะรดจนดินจืด กลายเป็นทราย ถูกลมและน้ำชะล้างไปหมดจนเหลือแค่ดินดานซึ่งเป็นดินที่แข็งตัวเมื่อถูกอากาศ ดินนี้ก็ไม่มีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์          พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงศึกษาวิเคราะห์ปัญหาดิน ในเอกสาร “Soil Dev การพัฒนาดิน” ที่พระราชทานแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับโครงการหนองพลับ - กลัดหลวง ต.หนองพลับ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ว่าดินมีปัญหาเป็นดินลูกรัง ดินดาน ต้นเหตุของปัญหามีการทำลายป่าไม้ เมื่อเริ่มพัฒนา มีการ clear (ปอกเปลือก) พื้นที่ โดยตัดไม้ถอนรากให้หมดเตียน และไม่มีการป้องกันมิให้ดินลูกรังที่เหลืออยู่มากถูกชะล้างลงห้วยโดยเร็ว

          โครงการนี้ อยู่ในเขตรอยต่อ ๒ จังหวัด คือ ต.หนองพลับ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และห้วยทรายเหนือ อ.ชะอำ และ ต.กลัดหลวง อ.ท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี รวมพื้นที่ประมาณ ๖๕,๐๐๐ ไร่ มีพระราชดำริกับเลขาธิการ กปร. และผู้บริหาร กปร. เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๙ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สรุปความว่า

          มีพระราชประสงค์ที่จะทดลองดำเนินการโครงการพัฒนาที่ดินแบบใหม่ ซึ่งรัฐบาลได้น้อมเกล้าฯ ถวาย พื้นที่เพื่อจัดตั้งโครงการ ให้เป็นแหล่งประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยมีสิทธิครอบครองต่อเนื่องตลอดชั่วลูกชั่วหลาน แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ซื้อขายที่ดินนั้น และให้สร้างอ่างเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตรยามเมื่อฝนทิ้งช่วง

อ่างเก็บน้ำ

 

          กรมพัฒนาที่ดิน เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานโครงการ โดยจัดสรรที่ดินที่พัฒนาแล้วให้ประชาชนที่ยากจนเข้าอยู่อาศัย และประกอบอาชีพ เพื่อให้มีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งได้จัดที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ให้เพาะปลูกพืชตามความเหมาะสม ส่วนพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับการเพาะปลูกก็พัฒนาเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์

          การจัดสรรที่ดินดำเนินการในรูปแบบหมู่บ้านสหกรณ์ โดยแต่ละหมู่บ้านจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อเป็นตัวแทนของลูกบ้านประสานงานกับทางราชการและสหกรณ์การเกษตร เป็นการให้ประชาชนรวมกลุ่มกันรักษาผลประโยชน์ของตนเอง

          สหกรณ์ในระยะแรกได้จำหน่ายพันธุ์พืชหลักให้แก่สมาชิกในราคาถูก เช่น อ้อย ข้าวโพด และทำสัญญาจำหน่ายผลผลิตให้แก่โรงงานน้ำตาลและโรงงานสับประรดกระป๋องโดยตรง เพื่อแก้ปัญหาเรื่องพ่อค้าคนกลาง

 


                            

กลุ่มนโยบายพิเศษ
         ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒

curve