รายละเอียดองค์ความรู้
องค์ความรู้จากโครงการที่ดิน
ต.บ้านพริก อ.บ้านนา จ.นครนายก
โครงการที่ดินตำบลบ้านพริก หรือ โครงการศึกษาทดลองการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวบ้านหนองคันจาม ต.บ้านพริก อ.บ้านนา จ.นครนายก เป็นโครงการพัฒนาที่ดินที่ท่านผู้หญิงยศวดี อัมพรไพศาล น้อมเกล้าฯ ถวาย ประมาณ ๕๐ ไร่ โดยมีพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๐ สรุปว่า
ให้ใช้วิธีการทางธรรมชาติในการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวด้วยการใช้น้ำฝนชะล้างความเปรี้ยว ให้ขุดบ่อ ๒ บ่อ ๆ ละ ๖ ไร่ ตรงกลางพื้นที่ ไม่ให้ลึกเกิน ๔ เมตร เก็บน้ำฝน นำดินที่ขุดบ่อด้านบนซึ่งเป็นหน้าดิน มากลบทับให้ทั่วพื้นที่เพื่อเป็นหน้าดินที่ดี เก็บน้ำในบ่อที่ ๑ ให้เต็มแล้วสูบใส่บ่อที่ ๒ เมื่อความเปรี้ยวมากแล้วใส่สารบำบัด มีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำและดินอย่างสม่ำเสมอ และให้ปลูกหญ้าแฝกรอบบ่อน้ำ (นับเป็นแปลงที่ ๑)
เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๐ มีพระราชดำริให้ซื้อที่ดินเพิ่มเติม ๓๑ ไร่ จัดทำแปลงที่ ๒ และนำวิธีแก้ไขดินเปรี้ยวจัด แบบบ้านยูโย จ.นราธิวาส มาดำเนินการ โดยนำน้ำจากภายนอกโครงการมาแก้ไขดินเปรี้ยวและให้ขุดสระน้ำ ๒ สระ ไม่ต้องกว้างและลึกมากนักใช้หินปูนก้อนใหญ่เรียงดาดตามแนวของผนังสระเพื่อให้ปูนละลายน้ำได้ช้าๆ นอกจากนี้ให้ซื้อที่ดินเพิ่มอีก ๔๐ ไร่ ดำเนินการเป็นศูนย์ฝึกอาชีพ โดยนำน้ำที่ได้รับการบำบัดจากแปลงที่ ๒ มาใช้ประโยชน์ และให้จดบันทึกค่าใช้จ่ายของแต่ละแปลงไว้โดยละเอียด
ผลของการพัฒนาที่ดิน สรุปดังนี้
แปลงที่ ๑ น้ำทั้ง ๒ สระ ยังเป็นกรดจัด ค่า pH ใกล้เคียงกัน ประมาณ ๒.๘ - ๓.๑ และมีปริมาณธาตุเหล็กและอลูมินัมสูง ทำให้คุณภาพน้ำอยู่ในระดับไม่ดี ควรมีการถ่ายเทน้ำระหว่างสระน้ำให้มากขึ้น หรือใช้น้ำชลประทานเข้ามาช่วยชะล้างกรด
พื้นที่แปลงที่ 1 ที่เอาหน้าดินเกลี่ยมาทับตอนบนหนา สระน้ำแปลงที่ 1 เนื้อที่ 6 ไร่
50 - 70 ซม.
แปลงที่ ๒ ในช่วงแรกของการขุดสระน้ำ ค่า pH ประมาณ ๓.๕ - ๔.๐ เมื่อมีการถ่ายเทน้ำ แล้วนำน้ำจากครองชลประทานมาเติม ค่า pH ประมาณ ๕.๐ - ๖.๐ คุณภาพน้ำอยู่ในระดับใช้ได้ และมีการใช้ปูนมาร์ลและปูนขาวปรับปรุงคุณภาพน้ำ ก่อนนำไปใช้ให้มีค่า pH ๔.๕ - ๕.๐ นอกจากนี้ มีการปรับปรุงคุณภาพดินโดยใช้ปูนมาร์ลคลุกเคล้ากับดิน อัตราส่วนประมาณ ๒ ตัน/ไร่
สระน้ำในไร่นาแปลงที่ 2
ข้าวที่ปลูกในแปลงเกษตรแปลงที่ 2 แปลงที่ 2 แปลงยกร่องปลูกไม้ผล
เป็นแปลงที่ใช้ปูนปรับปรุงดิน
แปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ จัดทำเปรียบเทียบกัน ๓ แปลง เนื้อที่ประมาณ ๑๐ ไร่, ๘ ไร่ และ ๖ ไร่ ตามลำดับ พบว่าแปลงที่ดินและน้ำได้รับการแก้ไขความเป็นกรด มีการปรับปรุงบำรุงดิน มีผลดีที่สุด คือ ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ ได้ผลผลิต ๔๒๗ กิโลกรัม/ไร่ ไม้ผลที่ได้ผลดี คือ มะม่วงน้ำดอกไม้ ฝรั่งแป้นสีทอง ขนุน กล้วยน้ำว้า มะละกอแขกดำ และพืชผักสวนครัว เช่น ชะอม ถั่ว และมะระ เป็นต้น ส่วนแปลงที่ไม่ใช้วัสดุปูนแก้ไขความเป็นกรด ใช้น้ำชะล้างอย่างเดียวได้ผลผลิตข้าวเพียง ๓๔ กิโลกรัม/ไร่ ผลผลิตที่เป็นพืชผักและไม้ผลได้ปริมาณน้อยกว่าแปลงที่มีการปรับปรุงบำรุงดิน
แปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ แปลงที่ 1 พื้นที่แปลงที่ 1 ที่เอาหน้าดินเกลี่ยมาทับตอนบนหนา
50 - 70 ซม.
แปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ แปลงที่ 2 แปลงที่ 2 ที่อยู่อาศัย และพืชผักสวนครัว
. |
แปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ แปลงที่ 3 ข้าวที่ปลูกในแปลงเกษตรที่ 3 ซึ่งเป็นแปลงที่ไม่ได้ใช้วัสดุปูน
ศูนย์ฝึกอาชีพ
ผลผลิตของโครงการ
กลุ่มนโยบายพิเศษ
๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒