องค์ความรู้เรื่อง "โครงการปากพนัง"

รายละเอียดองค์ความรู้

โครงการปากพนัง

ป้ายชื่อโครงการ

แม่น้ำปากพนัง

          พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงศึกษาวิเคราะห์ดิน ในเอกสาร “SoilDev การพัฒนาดิน” ที่พระราชทานแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับปัญหาดินของโครงการปากพนังจ.นครศรีธรรมราช สรุปว่า : น้ำเค็ม ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ต้นเหตุของปัญหา : บริเวณตอนล่างคล้ายกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี คือ ดินเค็มเพราะน้ำทะเลขึ้นถึง บริเวณตอนบนคล้ายกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จ.นราธิวาส คือ เป็นสภาพ “พรุ” เก่า ดินประกอบด้วยพืชที่ทับถมลงมาเป็นเวลานาน และผสมกับน้ำทะเล มีผลให้เป็นดินที่มีแร่กำมะถัน เมื่อสัมผัสกับอากาศก็กลายเป็นออกไซด์ และเมื่อผสมกับน้ำก็กลายเป็นกรดกำมะถัน

          มีพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการปากพนังอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง ได้แก่

          เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๓๖ มีพระราชดำริกับคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จ.นราธิวาส ตอนหนึ่ง ความว่า

มีพระราชดำริเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๓๖ ณ พระตำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส

          “แม้ว่าประตูน้ำอันเดียวนี้จะไม่แก้ไขปัญหาทั้งหมด แต่จะต้องสร้างหรือทำโครงการต่อเนื่อง...แต่ก่อนนี้การแก้ไขปัญหาต่างคนต่างทำ ต่างฝ่ายต่างทำ จุดเริ่มไม่มี ตอนนี้ถ้าสร้างประตูน้ำเสร็จ ...จากอันนี้จะทำอะไรๆ ได้ทุกอย่างและแยกออกมาเป็นโครงการ”

          เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการปากพนัง สรุปความว่า ให้พิจารณาก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ เพื่อควบคุมระดับน้ำในพรุควนเคร็ง ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดไฟไหม้พรุ

เสด็จเมื่อวันที่  ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

          ผลสำเร็จของโครงการ เป็นการพัฒนาระบบชลประทานครอบคลุมพื้นที่ ๕๒๑,๐๐๐ ไร่ แบ่งเขตน้ำจืด - น้ำเค็ม โดยคันดินแบ่งเขตระยะทาง ๙๑.๕ กิโลเมตร บรรเทาน้ำท่วม ป้องกันน้ำเค็ม กักเก็บน้ำจืดเพื่อการอุปโภค - บริโภค และการเกษตร เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปรับปรุงบำรุงดินและแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว พัฒนาอาชีพ ได้แก่ การปลูกข้าว ปาล์มน้ำมัน เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เลี้ยงสัตว์ ส่งเสริมเพิ่มพื้นที่ป่าจากและแปรรูปผลผลิต พัฒนาสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การควบคุมไฟป่า พัฒนาอาชีพด้านป่าไม้ ปลูกพันธุ์ไม้ สร้างฝายชะลอการไหลของน้ำในพื้นที่ป่าพรุ จำนวน ๒๕๐ ฝาย สามารถบรรเทาปัญหาระบบนิเวศป่าพรุ เนื้อที่ประมาณ ๗๘,๓๑๐ ไร่

 

ประตูระบายน้ำปากพนัง

พื้นที่นาข้าว

พื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง

คลองชะอวด - แพรกเมือง

ศาลเจ้าพ่อต้นไทร

 


 

กลุ่มนโยบายพิเศษ
           ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๒

 

curve