ผู้พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช

จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 19 มิถุนายน 2540

พระราชดำริ

ว่า ศูนย์ศึกษาฯ ทุกศูนย์มีปัญหาและสาเหตุเรื่องดินที่แตกต่างกันการแก้ปัญหาจะต้องจัดหาหรือปรับปรุงน้ำปรับปรุงดินและเลือกกิจการพืชและสัตว์เลี้ยงที่เหมาะสม และพร้อมนี้พระท่านได้มีพระราชดำริ เป็นแนวทางดำเนินงานของศูนย์ฯ เขาหินซ้อน ศูนย์ฯ ห้วยฮ่องไคร้ และศูนย์ฯ กุลทอง ซึ่งศูนย์ฯ ต่าง ๆ ได้มีการดำเนินงานเพื่อสนองพระราชดำริไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ แต่มีบางกิจกรรมที่ควรเน้นและให้ความสำคัญในการดำเนินงานให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ตามเอกสารข้อมูลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานความว่า SoilDev การพัฒนาดิน ดินที่เหมาะสำหรับการเกษตรกรรม ต้องมีคุณสมบัติต่าง ดังนี้ มีธาตุที่เรียกว่า ปุ๋ย ส่วนประกอบที่สำคัญ คือ N (nitrogen) ในรูป nitrate P(phosphorus) ในรูป phosphate K (Potassium) และแร่ธาตุ อื่น ๆ O H Mg Fe มีระดับเปรี้ยว ด่าง ใกล้เป็นกลาง (ph 7) มีความเค็มต่ำ มีจุลรินทรีย์ มีความชื้น พอเหมาะ (ไม่แห้ง ไม่แฉะ) มีความโปร่งพอเหมาะ (ไม่แข็ง) ดินที่มีปัญหา 1) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน : ดินทราย มีแร่ธาตุน้อย 2) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้: หิน กรวด แห้งแล้ง 3) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง: ดินเปรี้ยวจัด 4) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย: ดินทราย มีแร่ธาตุน้อย ดินดาน 5) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน: ดินทราย ดินเค็ม ขาดน้ำ 6) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาคุ้งกระเบน: ดินเค็ม 7) โครงการเขาชะงุ้ม: ดินแข็ง ดิน – หินลูกรัง 8) โครงการวัดมงคลชัยพัฒนา: ขาดน้ำ 9) โครงการปากพนัง: น้ำเค็ม ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด 10) ที่ดิน ต. บ้านพริก อ. บ้านนา: ดินเปรี้ยว น้ำท่วม น้ำแล้ง 11) โครงการหนองพลับ-กลัดหลวง : ดินลูกรัง ดินดาน 12) โครงการหุบกะพง-ดอนขุนห้วย: ดินทราย มีแร่ธาตุน้อย ดิน ดาน ขาดน้ำ 13) โครงการสหกรณ์สันกำแพง: ดินลูกรัง ขาดน้ำ ต้นเหตุของปัญหา 1) ศูนย์ฯ เขาหินซ้อน มีการตัดป่า แล้วปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพดและมันสำปะหลังซึ่งทำให้ดินจืด และกลายเป็นดินทราย ในฤดูแล้งมีการชะล้าง เนื่องจากลมพัด ในฤดูฝนจะมีการชะล้างเนื่องจากน้ำเซาะ 2) ศูนย์ฯ ห้วยฮ่องไคร้ มีการตัดป่าในฤดูฝน มีการชะล้างเนื่องจากน้ำเซาะ จนเหลือแต่หิน กรวด 3) ศูนย์ฯ พิกุลทอง มีสภาพพรุ “เก่า” ดินประกอบด้วยพืช ที่ทับถมลงมาเป็นเวลานานและผสมกับน้ำทะเล มีผลให้เป็นดินที่มีแร่กำมะถัน เมื่อสัมผัสกับอากาศก็กลายเป็นอ็อกไซด และเมื่อผสมกับน้ำก็กลายเป็นกรดกำมะถัน (Sulfuric acid) 4) ศูนย์ฯ ห้วยทราย ดินเป็นป่าโป่ง มีการตัดไม้สำหรับเป็นฟืนและสำหรับเผ่าถ่าน ต่อจากนั้นมีการปลูกพืชไร่ลับปะรด จนดินจืดกลายเป็นทราย ถูกลมชะล้างไปหมดจนเหลือแต่ดินดาน เป็นดินที่แข็งเมื่อถูกอากาศ ดินนี้ไม่มีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ 5) ศูนย์ฯ ภูพาน เดิมเป็นป่าโป่ง มีการตัดไม้สำหรับเป็นฟืนและใช้พื้นที่สำหรับทำเกษตรกรรม ป่าไม้ที่อยู่เหนือพื้นที่ถูกทำลายไปมากจึงไม่มีน้ำในหน้าแล้ง น้ำไหลแรงในหน้าฝนทำให้มีการชะล้าง ดินผิวบางลง และเกลือที่อยู่ข้างใต้จะขึ้นเป็นหย่อม ๆ 6) ศูนย์ฯ อ่าวคุ้งกระเบน ดินเค็มเพราะน้ำทะเลขึ้นถึง 7) โครงการเขาชะงุ้ม มีการทำลายป่าไม้และการขุดดินลูกรังนำไปใช้สำหรับการสร้างถนน ส่วนที่มีหญ้ามีการต้อนปศุสัตว์มากินมากเกินไปจนหมด ส่วนที่ยังมีต้นไม้ ต้นไม้ถูกตัดทำฟืน ต้นไม้โตไม่ทัน ทั้งสองอย่างทำให้เกิดการชะล้างผิวดินไปหมด เหลือแต่ดินลูกรัง ซึ่งแม้จะมีแร่ธาตุที่เหมาะสมอยู่บ้าง แต่ไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตของพืชเพราะขาดจุลรินทรีย์ 8) โครงการวัดมงคลชัยพัฒนา มีสภาพใกล้เคียงกับศูนย์ฯ ภูพาน 9) โครงการปากพนัง บริเวณตอนล่างคล้ายกับศูนย์ฯ อ่าวคุ้งกระเบน บริเวณตอนบนคล้ายกับศูนย์ฯ พิกุลทอง 10) โครงการที่ดิน ต. บ้านพริก อ. บ้านนา จ. นครนายก สภาพใกล้เคียงกับโครงการวัดมงคลชัยพัฒนา 11) โครงการหนองพลับ-กลัดหลวง จ.ประจวบฯและ จ. เพชรบุรี มีการทำลายป่าไม้ เมื่อเริ่มพัฒนามีการ clear (ปอกเปลือก) พื้นที่โดยตัดไม้ถอนรากให้หมดเตียนและไม่มีการป้องกันมิให้ ดินลูกรังที่เหลืออยู่มากถูกชะล้างลงห้วยโดยเร็ว ต่อจากนั้นสภาพกลายเป็นคล้ายศูนย์ฯ ห้วยทราย 12) โครงการหุบกะพง-ดอนขุนห้วย จ. เพชรบุรี มีการทำลายป่าไม้ เมื่อเริ่มพัฒนาพื้นที่ที่มีสภาพคล้ายศูนย์ฯห้วยทราย 13) โครงการสหกรณ์สันกำแพง มีทำลายป่าไม้ เมื่อเริ่มพัฒนามีการ clear (ปอกเปลือก) พื้นที่โดยตัดไม้ถอนรากให้หมดเตียนและไม่มีการป้องกันมิให้ดินลูกรังที่เหลืออยู่มาก ถูกชะล้างลงห้วยโดยเร็ว นอกจากนี้ยังมีสภาพดินร้อนเนื่องจากมีน้ำพุร้อน การแก้ปัญหา ทั่วไป - หา หรือปรับปรุงน้ำ - ปรับปรุงดิน - เลือกกิจการ (พืช เลี้ยงสัตว์) ศูนย์ฯ ห้วยฮ่องไคร้ มีการตัดป่า ในฤดูฝนจะมีการชะล้างเนื่องจากน้ำเซาะ จนเหลือแต่หิน กรวด เรื่องเดิม เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2525 ไปตรวจเขื่อนห้วยฮ่องไคร้ตอนล่าง ซึ่งสร้างขึ้นสำหรับช่วยราษฎรในบริเวณสหกรณ์สันกำแพง ได้ปรึกษากับนายทินกร คมกฤต ผู้เชี่ยวชาญปศุสัตว์ เรื่องลู่ทางที่จะใช้บริเวณเหนือเขื่อนสำหรับการเลี้ยงโคนม เขาบอกว่ามีแต่หิน อาจเลี้ยงได้สักสองสามตัวเท่านั้น ไม่คุ้มค่าการลงทุน ครั้งนั้นถ้าได้คิดว่าถ้าได้พื้นที่นั้นมา จะสามารถทำให้คนอิจฉาภายในห้าปี ถึงวันที่ 11 ธันวาคม 2525 ได้ขอใช้บริเวณลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้ทั้งลุ่ม เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 8,500 ไร่ เป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม เนื่องจากการลอบตัดไม้และจากไฟไหม้ป่า และ ดินถูกน้ำชะล้างเป็นส่วนใหญ่ เหลือเป็นหินลูกลังและกรวด ก) ส่วนล่างของพื้นที่ มีอ่างเก็บน้ำห้วยฮ่องไคร้นอกจากนั้นร่องห้วยต่าง ๆ แห้งหมด ต้องสร้างอ่างเก็บน้ำและฝาย เพื่อกลับคืนความชุ่มชื้นให้แก่พื้นที่และพัฒนาคุณภาพของดิน ข) เริ่มด้วยการผันน้ำจากห้วยแม่ลายและปล่อยน้ำลงมาเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำเล็ก ๆ ที่ได้สร้างไว้ ลดหลั่นลงมาจากยอดของพื้นที่จนถึงอ่างเก็บน้ำห้วยฮ่องไคร้ นอกจากนี้ได้สร้างฝายชะลอน้ำ ในร่องห้วยเล็ก ๆ และได้ผันจากอ่างเก็บน้ำเล็ก ๆ ลงไปในร่องห้วยเล็ก ๆ นั้น ๆ เมื่อระบบน้ำเริ่มทำงาน ต้นไม้ที่ถูกทำลายก็ค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นจนเป็นป่าที่สมบูรณ์ โดยไม่ต้องปลูกขึ้นใหม่มากนัก ส่วนที่มีความลาดชันน้อยและใกล้อ่างเก็บน้ำห้วยฮ่องไคร้ ก็สามารถปลูกพืชไร่ในอ่างเก็บน้ำห้วยฮ่องไคร้ก็สามารถเลี้ยงปลา การสร้างระบบน้ำ เริ่มทำปี 2527 กับปี 2532 ค) เมื่อมีระบบแล้ว จึงแบ่งพื้นที่ทั้งหมดเป็นเขต ๆ ดังนี้ - ในที่สูงและที่ที่เคยเป็นป่าสมบูรณ์ ได้ส่งเสริมให้เป็นป่าไม้โดยแบ่งเป็นเขตต่าง ๆ * ส่วนที่มีน้ำเลี้ยงจากระบบตลอดเวลา (ฝาย Check Dam และเหมืองที่มีน้ำหล่อเลี้ยง) * ส่วนที่มีห้วยแล้ง แต่รับน้ำเป็นครั้งคราว (ฝาย Check Dam ที่รับน้ำฝนหรือออกจากระบบเป็นครั้งคราว) * ส่วนที่มีห้วยแล้งที่รับน้ำธรรมชาติ (มี Check Dam ที่รับแต่น้ำฝน) * ส่วนที่มีห้วยแล้งที่รับน้ำตามธรรมชาติ (ไม่มี Check Dam ที่รับน้ำฝน) ใน 4 กรณีนี้ ให้มีการปลูกต้นไม้เสริมบ้าง ไม่ปลูกเสริมบ้าง - นอกจากนี้ ให้ทำการฟื้นฟูดิน ซึ่งส่วนมากเป็นหิน กรวด ทราย หินและดินลูกรัง ให้สามารถทำเป็นทุ่งหญ้าสำหรับปศุสัตว์บ้าง ปลูกพืชไร่บ้าง พืชสวนบ้าง - ที่ใกล้อ่างเก็บน้ำ ห้วยฮ่องไคร้ให้ทำนาข้าว - ในอ่างเก็บน้ำห้วยฮ่องไคร้ ให้เลี้ยงปลาโดยตั้งเป็นกลุ่มหรือสหกรณ์การประมง หลังจากดำเนินการมาประมาณห้าปี ก็เริ่มเห็นผลการปฏิบัติ หลังจากดำเนินการมาประมาณสิบปี ก็ได้เห็นผลการปฏิบัติก็ยิ่งชัดขึ้นอีก การอนุรักษ์ดินโดยใช้น้และหญ้าแฝกควบกันจะสามารถทำให้พื้นที่นี้มีความสมบูรณ์เต็มที่

สถานที่

วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน

curve