ผู้พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช

จังหวัด เพชรบุรี วันที่ 22 กรกฎาคม 2535

พระราชดำริ

1. การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการพัฒนาดิน 1.1 ทรงย้ำ ควรเร่งปลูกหญ้าแฝกให้มาก ๆ เพราะหญ้าแฝกมีคุณสมบัติพิเศษในการพัฒนาดินหลายประการ หญ้าแฝกมีรากแข็งแรง สามารถเจาะลงในดินดานได้ลึก ปลูกง่าย ลักษณะกอหนาแน่น เป็นกำแพงธรรมชาติที่มีชีวิตช่วยหยุดยั้งการชะล้างการพังทลายของหน้าดิน ชะลอความเร็วของน้ำที่ไหลบ่า น้ำจะซึมลงไปเก็บไว้ในดินได้มาก ทำให้ดินมีความชุ่มชื้น และใบแฝกก็ยังใช้คลุมดิน เพื่อรักษาความชื้น และเพิ่มปุ๋ยให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นดังพระราชกระแสตอนหนึ่งว่า “ดินแข็งอย่างนี้ใช้งานไม่ได้ แต่ถ้าเราทำแนวปลูกแฝกที่เหมาะสมมีฝนลงมา ความชื้นจะอยู่ในดินรากแฝกมันลึกมาก ถึงให้เป็นเขื่อนกั้นแทนที่จะขุดแล้วปูซีเมนต์ พืชนี่จะเป็นเขื่อนที่มีชีวิตแล้วในที่สุดเนื้อที่ตรงนี้ก็จะเกิดเป็นดินผิวได้ เมื่อเกิดผิวดินเราจะปลูกอะไรก็ได้ ปลูกต้นไม้ก็ได้ ปลูกผัก ปลูกหญ้าแฝกก็ได้ทั้งนั้น ระยะแรกรัฐควรออกค่าใช้จ่ายให้ก่อนเพราะราษฎรยังไม่มีทุนเพียงพอในระยะต่อไป เมื่อราษฎรสามารถเพาะปลูกพืชและมีรายได้มากขึ้นราษฎรก็จะเห็นประโยชน์และสามารถดำเนินการปลูกแฝก เพื่อพัฒนาดินด้วยตนเอง..” 1.2 สำหรับแนวแฝกที่ปลูกบริเวณแปลงสาธิตท้ายอ่างเก็บน้ำห้วยทราย ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักที่จะปลูกไม้ผลนั้นก็ถูกต้องแล้ว แต่ถ้าจะให้ประหยัดแฝกก็ควรให้แต่ละแถวห่างกันมากขึ้น (ประมาณ 1 - 2 เมตรตามแนวดิ่ง) และระยะห่างระหว่างต้นหญ้าแฝกในแถวเดียวกันนั้นควรปลูกชิด ๆ กัน แฝกจะทำงานได้เร็วในกรณีบางพื้นที่ที่มีความลาดเอียงไม่มาก แนวหญ้าแฝกจะห่างกันมาก ถ้าจะปลูกไม้ผลเราอาจปลูกแฝกเป็นรูปวงกลมล้อมต้นไม้ผลเหมือน “ฮวงซุ้ย” ก็ได้ และในกรณีที่ฝนไม่ตกควรให้น้ำช่วยจนกว่าต้นหญ้าแฝกจะตั้งตัวได้ สำหรับบริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำห้วยทรายนี้ นอกจากพื้นที่ที่ปลูกแฝกไปแล้วนี้ก็ควรจะปลูกเพิ่มเติมอีกสองพื้นที่ คือ พื้นที่แรก บริเวณเชิงเขาเตาปูนด้านล่างของถนนจอมพล ซึ่งลักษณะพื้นที่เป็นดินดานเสียส่วนใหญ่ไม่มีหน้าดิน พื้นที่นี้ควรเจาะร่องแล้วปลูกหญ้าแฝกพร้อมกับให้น้ำจนกว่าแฝกจะตั้งตัวได้ เพื่อทดลองให้ราษฎรเห็นว่าแฝกสามารถสร้างหน้าดินขึ้นมาใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ได้ พื้นที่ที่สอง บริเวณเหนือคลองส่งน้ำซึ่งทางทิศเหนือของแปลงสาธิตการปลูกหญ้าแฝกพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ ควรปลูกแฝกเพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ของดินเตรียมไว้สำหรับการขยายตัวของหมู่บ้านในอนาคต 2. การปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันตะกอนหินและดูดซับสารเคมี ควรปลูกหญ้าแฝกบริเวณเหนือแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น ลำห้วย และอ่างเก็บน้ำ เป็นต้น เพื่อใช้หญ้าแฝกเป็นแนวป้องกันตะกอนและดูดซับสารเคมีตลอดจนของเสียต่าง ๆ ที่ไหลลงในแหล่งน้ำ โดยเฉพาะสารไนเตรทที่ไหลมาจากสนามกอล์ฟ เพราะหญ้าแฝกนอกจากจะช่วยป้องกันตะกอนดินแล้ว ยังจะดูดซับสารเคมีต่าง ๆ เช่น ไนเตรท และสารพิษต่าง ๆ ไว้ในรากและลำต้นได้นานจนสารเคมีนั้นสลายตัว และไม่เป็นอันตรายต่อคนข้างล่าง ทรงรับสั่งว่า “หนักใจเรื่องสารเคมี เขาต้องใส่ปุ๋ย และเคมี.....ไนเตรท.....ฝนตกก็ละลายไปลงในน้ำ อาจไปผสมกับข้างล่าง เป็นพิษลงไปในอ่าง ในบ่อน้ำตื้นที่เขาไว้ใช้กิน.....ถ้าทำหญ้าแฝกนี่ ไนเตรทจะถูกกักไว้.....แล้วยังเป็นปุ๋ยใต้ดิน.....ถ้ายาพิษนั้นเขาไปอยู่ในต้น ซึ่งเวลานาน ๆ ไปยาก็จะสลายพร้อมกับต้นแฝกสลายตัวเป็นปุ๋ยตกลงต้นแฝกนี่ก็จะเป็นปุ๋ยสำหรับพืชต่อไป โดยที่ยาฆ่าแมลงนั้นไม่เป็นพิษสลายตัว

สถานที่

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ

curve