ผู้พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช

จังหวัด เพชรบุรี วันที่ 26 มิถุนายน 2532

พระราชดำริ

1.กิจกรรมที่ดำเนินการในสวนสมเด็จฯ เช่น การเลี้ยงไก่บนบ่อปลา การปลูกพืชแบบผสมผสานระหว่างพืชสวน พืชไร่ ซึ่งมีไม้ผลเป็นหลัก การเพาะเห็ด การเลี้ยงผึ้ง การปลูกพืชสมุนไพร การปลูกไม้ตัดดอก บ่อแก๊สชีวภาพ การทำระบบวนเกษตรนั้น นับว่าดีแล้วและถูกต้องตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้ โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับท้องถิ่นนั้นควรที่จะให้นักวิชาการและประชาชนเข้ามาศึกษาดูงาน และขยายผลต่อไป อย่างไรก็ดีการขยายผลไปสู่ราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียงนั้น ควรขยายในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยการจัดตั้งเป็นกลุ่มย่อย ๆ และด้วยความสมัครใจของราษฎรเองก่อน พื้นที่ใดที่มีปัญหาและราษฎรไม่สมัครใจก็จะไม่มีการบังคับ ต่อเมื่อราษฎรเห็นตัวอย่างที่ดีแล้วก็จะเข้ามาร่วมเองในภายหลัง ส่วนราษฎรที่สมัครใจ เช่น หมู่บ้านชาวไทยมุสลิม นั้น ก็ให้ความช่วยเหลือเต็มที่ 2.สำหรับการเลี้ยงผึ้งโพรง ก็นับว่าเป็นรายได้เสริมแบบง่าย ๆ ให้แก่ เกษตรกรอีกทางหนึ่ง แต่ถ้าหากทำเป็นงานหลักอาจไม่เหมาะสม เนื่องจากจะมีปัญหาเรื่องอาหารเลี้ยงผึ้งเพราะดอกไม้ที่จะเลี้ยงผึ้งไม่มีตลอดปี จึงควรค่อย ๆ ทำการศึกษาต่อไปตามความเหมาะสม 3.สวนสมเด็จฯ นี้สามารถขยายพื้นที่เพาะปลูกได้เพิ่มขึ้นอีกเพราะยังมีพื้นที่ที่ไม่ได้ทำประโยชน์หากมีการบริหารน้ำและใช้น้ำอย่างมีระบบ รวมทั้งการจัดหาน้ำมาเพิ่มขึ้น......อย่างไรก็ดี การจัดการเรื่องน้ำนี้จำเป็นต้องจัดที่ดินให้เรียบร้อยเสียก่อน 4. ....สำหรับการทำระบบน้ำหยดนั้นต้องทดลองเป็นขั้น ๆ ไป เพราะระบบนี้บางครั้งก็เป็นปัญหาเกี่ยวกับการที่น้ำหยดมากไป หรืออาจน้อยไปและอาจใช้ได้เฉพาะพื้นที่บางพื้นที่ที่เหมาะสมเท่านั้น 5.พื้นที่วนเกษตรขอให้รักษาสภาพป่าด้วยการปลูกป่าโดยใช้ไม้พันธุ์เดิมที่สามารถดำรงอยู่ได้ตามธรรมชาติ และปลูกไม้ผลเพิ่มให้มากขึ้น .....และการปลูกไม้ผลนี้ควรขยายออกไปแทนที่ไม้ยูคาลิปตัส เพื่อให้ค่อย ๆ ลดจำนวนลงและนำไปใช้เผาถ่าน เพราะไม้ยูคาลิปตัสที่ต่างประเทศปลูกเพื่อใช้ทำฟืนและผลิตพลังไฟฟ้านั้น ไม่สู้จะได้ผลและต้องการบำรุงรักษาเช่นไม้ทั่วๆ ไปด้วย ดังนั้น จึงควรปลูกไม้ผลจะดีกว่า 6.เรื่องการผสมพันธุ์พืชสองชั้นให้เอาพันธุ์พืช เช่น พวกแตงต่าง ๆ ให้คัดเลือกเฉพาะที่กลายพันธุ์เป็นพวกพันธุ์เลว เอามาขยายพันธุ์หลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้ได้พันธุ์ที่จะไม่กลายพันธุ์อีกต่อไป หลังจากนั้นค่อยขยายข้ามสายพันธุ์ใหม่ที่เป็นพันธุ์ของไทยโดยเฉพาะไม่ใช่พันธุ์แตงที่ได้จากต่างประเทศที่ทำอยู่ในขณะนี้ หลักการสำคัญคือ “การกลับไปสู่ของเดิม และเป็นของเดิมที่ไม่กลายพันธุ์แล้ว

สถานที่

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ

curve