ผู้พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช

จังหวัด เพชรบุรี วันที่ 26 มิถุนายน 2533

พระราชดำริ

1.ด้านการพัฒนาป่าไม้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดหมู่บ้านไม้หรือการปลูกป่าก็ดีจะมีลักษณะที่จ้างราษฎรเป็นลูกจ้างของทางราชการโดยให้มีหน้าที่ในการปลูกป่าและบำรุงดูแลรักษาต้นไม้ให้เจริญเติบโตราษฎรจึงขาดความสำนึกที่จะรักป่าไม้และบำรุงดูแลให้ต้นไม้เจริญเติบโต เพราะถ้าต้นไม้ที่ปลูกเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ทางราชการก็จะปลดลูกจ้างเหล่านั้นออกไป ราษฎรที่เป็นลูกจ้างจึงไม่พยายามที่จะให้ต้นไม้โตเร็ว เพราะจะถูกเลิกจ้างตามไปด้วย จึงเห็นสมควรให้เปลี่ยนวิธีการใหม่ เป็นการดำเนินงานในรูปแบบ “ป่าไม้หมู่บ้าน” คือให้ราษฎรดำเนินการเองเป็นเจ้าของเอง ปลูกป่าและบำรุงดูแลรักษาต้นไม้เอง โดยในระยะแรกให้หน่วยราชการจัดทำเรือนเพาะชำ เพื่อสาธิตและแนะนำให้ราษฎรรู้จักการเพาะต้นกล้า และสอนให้ราษฎรทำเรือนเพาะชำเป็นของตนเอง เพาะต้นกล้าไม้มาขายให้หน่วยราชการ หน่วยราชการจะรับซื้อต้นกล้าจากราษฎรในระยะแรก เพื่อให้ราษฎรสามารถฝึกหัดและเลี้ยงตัวเองได้ก่อน ต่อจากนั้นก็ส่งเสริมให้ราษฎรมีความรู้ความชำนาญมากขึ้น สามารถเพาะต้นกล้าเพื่อนำไปจำหน่ายยังตลาดภายนอกได้ ซึ่งอาจจะมีทั้งการเพาะต้นไม้ดอก ไม้ประดับหรือไม้ผลที่มีราคาดี ก็จะเป็นการส่งเสริมรายได้ให้แก่ราษฎรอีกทางหนึ่งด้วย และต่อไปราษฎรที่เป็นเจ้าของเรือนเพาะชำ ก็สามารถผลิตต้นกล้าได้เอง ก็จะนำไปปลูกเป็นป่าไม้ในพื้นที่ที่ได้จัดสรรไว้ให้ ราษฎรก็จะต้องดูแล รักษาและหวงแหนป่าไม้เหล่านั้นให้เจริญเติบโตเป็นป่าไม้ของชุมชน ที่ราษฎรสามารถเข้าไปหากินได้ สามารถตัดต้นไม้ที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วไปใช้ประโยชน์และดำเนินการปลูกป่าทดแทนต่อไป ถ้าสามารถทำได้ดังนี้ราษฎรก็จะไม่ไปบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติในที่อื่น ๆ ต่อไปอีก 2.การฟื้นฟูสภาพป่าไม้บนภูเขา ก็ให้ดำเนินการแบบเขาเสวยกะปิ โดยการสูบน้ำด้วยเครื่องสูบน้ำ กังหันน้ำขึ้นไปเก็บไว้ที่ฝ่ายเก็บกักน้ำ ซึ่งได้สร้างปิดกั้นร่องน้ำตามช่องเขาต่าง ๆ เป็นชั้น ๆ ตามความเหมาะสม พร้อมกับต่อท่อกระจายน้ำไปตามลาดเขา เป็นการทดลองสร้างภูเขาป่าในระดับสูงด้วยระบบน้ำชลประทานที่บริเวณเขาเสวยกะปิแห่งนี้ ให้มีสภาพสมบูรณ์และดำเนินการปลูกป่าประเภทไม้โตเร็วคนกินได้ สัตว์กินได้ ไม้สวยงาม ตลอดจนไม้ทำฟืนตามบริเวณลาดเขาต่าง ๆ เมื่อสามารถปลูกป่าไม้ได้เจริญเติบโตได้ผลดีแล้ว ก็ให้นำรูปแบบเดียวกันนี้ไปขยายผลการดำเนินงานไปยังภูเขาลูกอื่น ๆ ก็จะช่วยให้พื้นที่มีสภาพป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์และมีความชุ่มชื้นตลอดไปด้วย 3.ในพื้นที่ดินเสื่อมสภาพ ไม่สามารถปลูกพืชอย่างอื่นได้ เมื่อได้ทดลองปลูกต้นยูคาลิปตัสแล้วก็ลองคำนวณว่าใช้เวลาปลูกนานเท่าไร ได้ผลผลิตเป็นไม้จำนวนเท่าใด ต่อจากนั้นก็ทดลองนำมาเผาถ่านและคำนวณดูว่าได้ถ่านออกมาเป็นจำนวนเท่าใด มีมูลค่าเท่าไร ถ้าหากมีการนำไปเปรียบเทียบกับการปลูกไม้ชนิดอื่นแล้ว อย่างไหนจะสามารถให้ผลประโยชน์มากกว่ากัน

สถานที่

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ

curve