ผู้พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช

จังหวัด เพชรบุรี วันที่ 01 กันยายน 2528

พระราชดำริ

1.การจัดสรรที่อยู่อาศัย ควรพิจารณาจัดสรรที่ดินให้ครอบครัวละ 1 ไร่ เป็นที่อยู่อาศัยโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มหมู่บ้านใหม่ ควรตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ท้ายอ่างฯ ห้วยทรายติดกับคลองชลประทานสายหัวหิน กลุ่มที่ 2 กลุ่มบ้านเดิม มี 2 ส่วนคือ ส่วนที่1 กลุ่มไทยมุสลิมบ้านที่อยู่กระจัดกระจายควรนำมารวมกลุ่มกับหมู่บ้านเดิม ซึ่งปลูกสร้างถาวรอยู่แล้ว แล้วจัดระเบียบใหม่ให้เหมาะสมเพื่อความสะดวกแก่การให้บริการของรัฐ ส่วนที่2 กลุ่มไทยพุทธ (บ้านห้วยทรายใต้) ในขั้นต้นนี้ยังไม่ควรจัดระเบียบ รอจนกว่าราษฎรจะเห็นความสำคัญและเข้ามาร่วมมือกับการดำเนินงานของศูนย์ฯ 2. การจัดสรรที่ทำกิน ควรจัดที่ทำกินให้ราษฎรโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 อยู่ในพื้นที่ซึ่งมีระบบชลประทานสมบูรณ์ จัดให้ครอบครัวละ 5 ไร่ เพื่อให้ราษฎรเพาะปลูกข้าวและพืชไร่ โดยให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ออกเอกสารสิทธิทำกินให้ราษฎรมีสิทธิทำกินตกทอดถึงทายาทได้ แต่ซื้อขายหรือโอนสิทธิกันเองไม่ได้ ส่วนที่ 2 อยู่ในที่ของศูนย์แต่นอกเขตชลประทานสมบูรณ์ ควรจัดให้มีครอบครัวละ 7 ไร่ โดยมีเงื่อนไขให้ปลูกป่า เพื่ออุตสาหกรรมเผ่าถ่านจำนวน 3.5 ไร่ หรืออาจมากกว่าเล็กน้อยก็ได้ การปลูกป่า และพืชไร่ในพื้นที่นี้ต้องอยู่ภายใต้การวางแผนของศูนย์ฯ ในการจัดระเบียบชุมชนควรพิจารณาถึงสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะจัดให้ด้วย ตามความเหมาะสม พร้อมทั้งควรพิจารณาวางแผนล่วงหน้าไว้รองรับการขยายตัวของชุมชนด้วย 3.การชดเชยที่ดินและพืชผล สมควรชดเชยให้แต่ไม่ควรชดเชยโดยตีราคาเป็นเงินควรคำนวณราคาสมมุติ(ให้เป็นคะแนน) เปรียบเทียบที่ดินราษฎรเดิมกับที่ดินที่จะจัดสรรให้ใหม่ ซึ่งจะรวมค่าลงทุนต่าง ๆ เช่น แหล่งน้ำ ถนน และเครื่องอำนวยการความสะดวกอื่น ๆ รวมทั้งด้านวิชาการและการช่วยเหลือด้านส่งเสริมอาชีพด้านต่างๆ ลักษณะนี้จะทำให้คะแนนของที่ดินที่จัดสรรจะสูงกว่าที่ดินเดิมมากแล้วนำมาเปรียบเทียบกัน (ตัวอย่างเช่นพื้นที่จัดสรร 10 ไร่ ซึ่งได้รับการพัฒนาแล้วอาจมีค่ามากกว่าพื้นที่ 54 ไร่ ที่มีอยู่เดิม

สถานที่

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ

curve