ผู้พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช

จังหวัด นราธิวาส วันที่ 10 พฤษภาคม 2535

พระราชดำริ

โครงการแกล้งดินนี้เป็นเหตุผลอย่างหนึ่ง ต้องการน้ำสำหรับมาให้ดินทำงาน ดินทำงานแล้วดินจะหายโกรธ อันนี้ไม่มีใครเชื่อ แล้วก็มาทำที่นี่แล้วมันได้ผล ดังนี้ผลงานของเราที่ทำที่นี่เป็นงานสำคัญที่สุด เชื่อว่าชาวต่างประเทศเขามาดู เราทำอย่างนี้แล้วเขาก็พอใจ เขามีปัญหาแล้วเขาก็ไม่ได้แก้หาตำราไม่ได้... โครงการปรับปรุงดินเปรี้ยวควรดำเนินการต่อไปในแง่ของการศึกษาทดลองและการขยายผลการทดลองต้องดูอย่างนี้ ทิ้งดินเอาไว้ปีหนึ่งแล้วจะกลับเปลี่ยนหรือเปล่า เพราะว่าความเปรี้ยวมันเป็นชั้นดิน ๆ ที่เป็นซัลเฟอร์ (Sulfer) แล้วก็ถ้าเราเปิดไปมีน้ำ อากาศลงไปในเป็นซัลเฟอร์อ๊อกไซด์ ซึ่งซัลเฟอร์อ๊อกไซด์เอาน้ำเข้าไปอีกทีไปละลายซัลเฟอร์อ๊อกไซด์ก็กลายเป็นใส่อ๊อกไซด์ลงไป ก็เป็นกรด Sulfuric Acid แต่ถ้าสมมติว่าเราใส่อยู่ตลอดเวลาชั้นดินที่เป็นซัลเฟอร์นั้นถูกกันไว้ไม่ให้โดยอ๊อกซิเจน แล้ว ตอนนี้ไม่เพิ่ม Acid โดยหลักการเป็นอย่างนั้น แต่หากว่าต่อไปในแปลงต่าง ๆ เพิ่มการทดลองอีก เมื่อได้ผลแล้วทิ้งไว้มันจะกลับไปสู่สภาพเดิมหรือไม่แล้วเมื่อความเป็นกรดเพิ่มขึ้นใหม่จะพัฒนาให้กลับคืนมาสู่สภาพนี้ได้ ต้องใช้เวลาอาจจะใช้เวลาสักปีเดียวดูสภาพว่าปีไหน ไม่ได้ใช้ดิน มันจะเสื่อมลงไปเท่าไรแล้วจะกลับคืนมาเร็วเท่าไร.. การขยายผลที่ทดลองที่นี่จะไปเป็นประโยชน์สำหรับที่อื่น.. ควรดำเนินการจัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่ายของงานทดลองปรับปรุงดินเปรี้ยว เพื่อให้ทราบถึงเงินทุนและรายได้ที่ได้รับ ชาวบ้านสามารถมาดูเป็นตัวอย่างได้... การจัดหาน้ำให้ศูนย์ฯ พิกุลทอง ควรพิจารณาก่อสร้างโครงการจัดหาน้ำให้ศูนย์ฯ พิกุลทองเพิ่มเติม เนื่องจากอ่างเก็บน้ำใกล้บ้านซึ่งเป็นแหล่งน้ำหลักที่ใช้สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์ฯ บางปีมีน้ำไม่พอใช้ จึงควรสูบน้ำคุณภาพดีจากแม่น้ำบางนราขึ้นไปช่วยเหลือ เพื่อเสริมกับน้ำจากอ่างเก็บน้ำใกล้บ้าน โดยสูบขึ้นจากริมฝั่งแม่น้ำบางนรา แล้วส่งต่อโดยระบบท่อลงไปยังต้นคลองส่งน้ำที่ท้ายเขื่อนฯ ใกล้บ้าน ซึ่งจะช่วยให้กิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ และพื้นที่บริเวณใกล้เคียงมีน้ำใช้อย่างเพียงพอตลอดปี... เมื่อมีการแก้ไขตามที่กล่าวมาแล้ว การใช้น้ำก็สามารถลดความเป็นกรดของดินจนสามารถปลูกพืชได้ผลดี แล้วให้ปล่อยทิ้งไว้เพื่อศึกษาดูว่า กำมะถันที่อยู่ในดินจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนแล้วทำให้เกิดกรดอีกหรือไม่ ถ้าเกิดกรดขึ้นมาอีกก็ให้แก้ไขใหม่ดูว่าจะใช้เวลานานเท่าใด... งานทดลองนี้เหมือนเป็นตำรา ควรทำเป็นตำราที่จะนำไปใช้ในพื้นที่ดินเปรี้ยวอื่นๆ ในพื้นที่อื่น อาจไม่ต้องมีการแบ่งเป็นแปลงย่อยเช่นนี้ คันดินที่สร้างเพื่อกั้นน้ำก็อาจจะใช้คลองชลประทานสร้างถนน สะพาน การศึกษาจึงต้องทำแบบนี้... ดูว่าการใส่ปุ๋ยครั้งเดียวปีแรกจะให้ประโยชน์ได้นานเท่าใด การใช้ปูนอย่างเดียวคงไม่เกิดประโยชน์มาก ต้องมีน้ำร่วมด้วย ปูนราคาไม่แพง แต่ค่าขนส่งแพงเกษตรกรลงทุนสูง และมีน้ำเกษตรกรก็สามารถปลูกพืชได้ตลอดมีปัญหาอีกอย่างก็คือ เกษตรกรขาดแรงงานที่จะหว่านปูนด้วย... การทำบัญชีรายจ่าย-รายรับ เมื่อปลูกพืชได้แล้วเอาไว้ให้ชาวบ้านได้เก็บชาวบ้านมักพูดว่า ทางราชการทำได้เพราะมีงบประมาณ ดังนั้นหน่วยงานราชการต้องทำเป็นตัวอย่างด้วย... เกษตรกรรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มเกษตรกร กลุ่มสหกรณ์แล้วทางราชการควรจะรวมเป็นกลุ่มทำงานด้วย... หาวิธีที่จะนำน้ำจากแม่น้ำบางนราเข้าเสริมในอ่างเก็บน้ำใกล้บ้าน... ให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ปลูกหญ้าแฝกให้เป็นแถวยางตามขวางของระดับความชันของบ่อเลี้ยงปลาเพียงหนึ่งหรือสองแถว ก็น่าจะเพียงพอ แต่ให้ปลูกหญ้าแฝกชิดติดกันต่อเนื่องไป เพื่อให้หญ้าแฝกมีความหนาแน่นใช้เป็นตะแกรงกรองกั้นสิ่งต่าง ๆ ไว้ได้

สถานที่

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ

curve