ผู้พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช

จังหวัด นราธิวาส วันที่ 26 สิงหาคม 2531

พระราชดำริ

เป็นศูนย์ฯ หรือเป็นที่แห่งหนึ่งที่รวมการศึกษา เพื่อดูว่าทำอย่างไรจะพัฒนาได้ผล.. ศูนย์ศึกษาฯ นี้ เป็นคล้าย ๆ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต ที่ใคร ๆ จะมาดูว่าทำอะไรกัน... ศูนย์ศึกษาการพัฒนานี้ ถ้าทำอะไรล้มเหลว ต้องไม่ถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องลงโทษ แต่ว่าเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ทำอย่างนั้นไม่เกิดผล หรือจะเป็นผลเสียหายก็เป็นได้ เมื่อเห็นอย่างนั้นแล้วอาจทำต่อก็ได้ เป็นการ เป็นการแสดงว่าทำอย่างนี้ไม่ถูก ก็เป็นตำราเหมือนกัน ทำอะไรไม่ถูกให้รู้ว่าไม่ถูก... ฉะนั้นในศูนย์ศึกษาการพัฒนานั้นทำอะไรไม่ถูกแล้วก็อาจเป็นอนุสาวรีย์ของความไม่ถูก จะได้สังวรไว้ว่า ทำอย่างนี้ไม่ได้ แต่ความเสียหายนั้นไม่มีมาก เพราะว่าในศูนย์ศึกษาการพัฒนาทำการทดลองต่าง ๆ นี้ ทำเป็นส่วนน้อย คือทำเป็นส่วนเล็ก ๆ สามารถที่จะเก็บไว้ให้ตนดูว่า ตรงนี้ทำอย่างนี้ไม่ค่อยดี ใช้ไม่ได้เป็นหลักวิชาสามารถที่จะเก็บไว้ให้ตนดูว่า ตรงนี้ทำอย่างนี้มันไม่ค่อยดี ใช้ไม่ได้เป็นหลักวิชา... เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่คนทุกระดับสามารถที่จะมาดู จะว่าเป็นโรงเรียนก็ไม่ใช่ แต่ว่าเป็นที่มาดูมาศึกษาก็ได้ คือเป็นทัศนศึกษา พานักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยก็ตาม หรือไม่ใช้โรงเรียนเป็นข้าราชการทุกชั้น ตั้งแต่ชั้นผู้น้อยมาจนถึงชั้นผู้ใหญ่ทุกระดับทุกอย่าง คือ หมายความว่าทุกหน้าที่สามารถมาดูในแห่งเดียวกัน วิธีการที่จะพัฒนาในสาขาต่าง ๆ ของวิชาการ อันนี้เท่ากับเป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์ที่จะมาดูอะไรมีวิชาการใดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา

สถานที่

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ

curve