ผู้พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช

จังหวัด สกลนคร วันที่ 26 พฤศจิกายน 2533

พระราชดำริ

ในการส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงสัตว์ นั้น จะต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ หนึ่ง สำหรับคนเลี้ยงจริงจัง ไปซื้ออาหารและอีกส่วนหนึ่งสำหรับชาวบ้านแท้ ๆ ในขั้นต่ำกว่ามันต้องมีนะ ถ้าเราคิดจะเลี้ยงชั้นสูงตลอดเวลา ชาวบ้านเขาสู้ไม่ไหวถ้ามีอะไรผิดปกติไปหน่อย จะล่มจมเป็นหนี้ เป็นหนี้แล้วเสร็จเลย ปีหนึ่งก็ปลดหนี้เขาไม่ได้ แต่ถ้าแจกชาวบ้านที่พื้น ๆ ต้องให้อะไรที่ง่ายที่สุด เพราะอันตรายเรื่องทางเศรษฐกิจ ถ้าสมมุติชาวบ้านเป็นหนี้ สมัยนี้ชอบเป็นหนี้ ทางราชการก็ชอบส่งเสริมให้เป็นหนี้ เพราะบอกว่าเป็นหนี้นี่ดี โดยมากเป็นเศรษฐกิจสมัยใหม่ ต้องเป็นหนี้ถึงจะดี เพราะว่าหมายถึงลงทุนได้มาก เมื่อลงทุนมากก็ได้เงินมาก แต่ถ้าลงทุนมากมีปริมาณมาก ได้ราคาก็ตก ก็กลายเป็นหนี้ อันนี้ยุ่งที่สุด อันพูดอาจจะไม่สมัยใหม่เหมือน โบราณเหมือนคนถอยหลังเข้าคลอง แต่ว่าความเป็นจริงถ้าหากว่าเราส่งเสริมให้ทำอะไรที่ใช้เทคโนโลยีมันต้องเป็นหนี้ เมื่อเป็นหนี้แล้วถ้าแกได้กำไรมา แกไม่ไปใช้หนี้แกฉลอง เมื่อฉลองแล้ว .อันนี้ไม่เป็นไร ธนาคารเขาให้ดอกเบี้ยก็ให้ ผลสุดท้าย ก็พอกไปพอกมาแล้วรัฐบาลก็ต้องยกหนี้ให้ หรือต้องปลดหนี้ให้เสียงบประมาณเป็นพันล้าน คงได้เผชิญปัญหานี้ เพราะเห็นว่าเราส่งเสริมให้ใช้วิทยาการสูง จะดูเหมือนกับทารุณว่า ไม่ให้วิทยาการสูงกับชาวบ้าน แต่ว่าเพราะว่าต้องให้วิทยาการสูงพอสมควรค่อย ๆ เพิ่มขึ้นไปอันนี้ขอเตือนอยู่นิด สมมุติว่าไอ้ตัวนี้มันดี มันตกมันเลี้ยงง่าย ก็น่าจะผสมพันธุ์แท้ ไว้มาก ๆ เพราะถ้าไปผสมกับตัวอื่น ที่ได้ผลดีเหมือนกัน ดีกว่า เลี้ยงง่ายก็จึงแจก ส่วนเรื่องไก่แม้แต่ไก่บ้านก็ตาย แต่ไก่บ้านโดยมากเมื่อก่อนนี้ตายก็ช่างมันเดียวนี้เพราะว่าได้เทคโนโลยี ตายตูมมันเสียทำอะไรที่มันแข็งแรงกว่าก็เป็ด เป็ดนี้ดีไข่ก็ใช้ได้ดี แต่ถ้าไปถามเขาว่า โน..โน...โน.. เขาไม่เอาเขาไม่ชอบกินไข่เป็ด

สถานที่

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ อำเภอเมือง

curve