ผู้พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช

จังหวัด สกลนคร วันที่ 22 พฤศจิกายน 2532

พระราชดำริ

การดำเนินงานแบบไร่นาสวนผสม ในกิจกรรมระบบการทำฟาร์มนั้น จะได้ผลดีมากในเขตที่มีน้ำชลประทานซึ่งในศูนย์ นี้ การเพาะปลูกพืชต่าง ๆ ก็ได้ผลดีพอสมควร ก็จะเป็นส่วนที่น่าสนใจสำหรับแสดง ให้ประชาชนทั่วไปมาศึกษาดูงานได้จะต้องพิจารณาหาพื้นที่ที่แสดงให้เห็นว่าจะสามารถปลูกพืชให้ได้ผลดี ในพื้นที่ที่ไม่มีชลประทานด้วย ทั้งนี้เพราะพื้นที่ทำการเกษตรโดยอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียวซึ่งเรียกว่าเกษตรน้ำฝนนั้น เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศจะมีพื้นที่ที่มีน้ำชลประทานสนับสนุนได้อย่างสมบูรณ์เพียงประมาณ ร้อยละ 10 ของพื้นที่ เกษตรใช้ทำกินทั้งหมดปัญหาจึงส่งผลให้เกษตรกร ที่ทำการเพาะปลูกขาดแคลนน้ำอยู่เสมอมา ถ้าฝนทิ้งช่วงเกิน 7 วัน ก็จะทำให้ผลผลิตเสียหายเกษตรกรจึงมีรายได้น้อยและยากไร้ในที่สุด จึงมีพระราชดำริให้แก้ไขเพื่อบรรเทาปัญหาให้เบาบางลง โดยอาศัยหนองบึงตามธรรมชาติที่มีอยู่เดิม และดำเนินการขุดลอก ปรับปรุงและยกคันดินให้สูงขึ้น ก็จะสามารถเก็บกักน้ำให้มากขึ้น หลังจากนั้นจะแนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักการใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นถ้าเกษตรกรขยันก็จะทำการเกษตรบริเวณรอบ ๆ หนองน้ำได้รวมถึงการรวมกลุ่ม การเลี้ยงปลาอย่างเป็นระบบด้วย นอกจากนี้ก็ควรปลูกกกตามริมหนองน้ำสำหรับจักสานและปลูกบัวไว้เก็บดอกและเม็ดจำหน่ายได้อีกทางหนึ่ง

สถานที่

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

curve