ผู้พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช

จังหวัด เพชรบุรี วันที่ 20 เมษายน 2543

พระราชดำริ

หลักการฟื้นฟูความสมบูรณ์ของพื้นที่ทั้งหมดนั้น จะต้องแบ่งเขตให้ดี กล่าวคือ หนึ่งเขตภูเขา ต้องปลูกพืชโตเร็วแล้วปล่อยให้เขาเจริญเติบโตตามวิถีอย่าไปรบกวนเขา และต้องไม่ปลูกพืชเศรษฐกิจ เพราะเราต้องการเลี้ยงเพิ่มความชุ่มชื้น ความเย็น และใช้เป็นเครื่องทำปุ๋ยตามธรรมชาติจากดินและเศษใบไม้ ต่อมาเขตที่สองเป็นเขตที่ราบเชิงเขา เมื่อพัฒนาแล้วสามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้ ประกอบกับการปลูกหญ้าแฝกเสริม เพื่อดักปุ๋ยเสริมหน้าดินที่ไหลลงมาจากภูเขา เขตล่างสุดคือบริเวณที่เลยจากเนินเขาลงไปซึ่งสามารถทำนา ทำสวน ปลูกข้าวโพด และผักได้ นี่คือพืชเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนั้นยังทรงสังเกตว่าสัตว์ป่าในท้องถิ่นซึ่งเคยหายสาบสูญไป เริ่มกลับคืนถิ่นมากขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากการพัฒนาสภาพป่าให้คืนสภาพโดยเร็ว นอกจากนั้น ยังพระราชทานพระราชดำรัสต่อไปว่า เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปพัฒนาที่หนองพลับและดอนขุนห้วย ซึ่งเป็นโครงการตามพระราชประสงค์ เมื่อ 20 กว่าปีมาแล้ว ทรงพบว่าพื้นที่เป็นดินดาน ได้มีพระราชดำริให้แก้ไขโดยใช้ดินลูกรังกลบ แต่ปรากฏว่าเทคนิคปัจจุบัน คือการปลูกหญ้าแฝกนั้น ดีกว่า และถูกกว่า ต่ต้องหมั่นกลับไปเยี่ยมเยือนเขา ดูว่าสภาพดินที่พัฒนาแล้วเป็อย่างไร ถ้าดีขึ้นก็นำกลับมาคิด พร้อมกันนั้นก็แจ้งว่าวิธีที่ห้วยทรายได้ผลอย่างไร จะได้ช่วยพิจารณา

สถานที่

โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

curve