ผู้พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช

จังหวัด ราชบุรี วันที่ 06 สิงหาคม 2535

พระราชดำริ

หลักการพัฒนาที่ดินโดยวิธีส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ น่าจะเป็นวิธีที่ได้ผลเร็วที่สุด และจะช่วยบรรเทาปัญหาดินเสื่อมคุณภาพ เมื่อเราสามารถฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมให้กลับทำการเกษตรกรรม คือปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ได้ดังเดิม ก็เท่ากับเป็นการเพิ่มพื้นที่ทำกินใก้สมดุลกับจำนวนเกษตรกรที่เพิ่มขึ้นทุกที ตลอดจนจะช่วยชะลอการบุกรุกทำลายป่าต้นน้ำลำธาร เพื่อบุกเบิกเป็นที่ทำกินต่อไป จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินต่อไปยังแปลงสาธิตการปลูกหญ้าแฝก เพื่อทอดพระเนตรหญ้าแฝกพันธุ์ต่างๆ ในโอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมว่า พื้นที่ว่างซึ่งเป็นดินลูกรังหรือหน้าดินตื้น ตั้งแต่ลาดเชิงเขาชายป่าที่มีในเขตโครงการหรือบริเวณทั่วไป ควรปลูกหญ้าแฝกตามแนวชั้นความสูงทุกระยะความสูงต่างกัน 2 เมตร สำหรับพื้นที่ที่ค่อนข้างชัน และทุกระยะความสูง 1-1.5 เมตร สำหรับพื้นที่ไม่ลาดชันมากนัก นอกจากนั้นตามขอบอ่างเก็บน้ำเหนือระดับน้ำเก็บกักขึ้นไปด้วย เพื่อป้องกันหรือกรองหน้าดินไม่ให้ถูกชะพาลงอ่างเก็บน้ำ นอกจากนั้นการปลูกหญ้าแฝกตามร่องน้ำต่างๆ ก็จะช่วยลดการกัดเซาะหน้าดินในร่องน้ำได้ดี ควรปลูกตามแนวชั้นความสูง โดยเริ่มจากขอบร่องน้ำมีแนวขึ้นไปทางด้านทิศเหนือ แล้ววกกลับขึ้นไปตามชั้นความสูงอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเมื่อมีน้ำไหลมาตามร่อง ก็จะช่วยกระจายน้ำแผ่ออกไปทางกว้างของตลิ่งทั้งสองฝั่งได้ ซึ่งจะเป็นการลดกระแสความรุนแรงช่วยให้เกิดความชุ่มชื้นกับพื้นที่ตลิ่งสองฝั่งได้ อีกพลิงของไฟป่าได้ดี จึงขอให้มีการส่งเสริมปลูกหญ้าแฝกสำหรับเป็นฉนวนในการป้องกันไฟป่าหรือไฟทุ่ง ซึ่งจะสามารถตัดตอนและสกัดกั้นไฟมิให้ลุกลามติดต่อกันได้ เมื่อทดลองได้ผลแล้วก็ควรเผยแพร่ความรู้นี้ให้กว้างขวางออกไป นอกจากนี้ในการปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด หรือพืชเศรษฐกิจอื่นๆ สมควรปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวระหว่างแถวตามความเหมาะสม ตามแนวลาดเอียงของพื้นที่ เพื่อป้องกันหน้าดินถูกน้ำฝนกัดเซาะและช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่เพาะปลูกด้วย

สถานที่

โครงการวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มตามแนวพระราชดำริ ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

curve